top of page

รอยตีนไดโนเสาร์

รอยตีนสัตว์ (footprint) รอยที่เกิดจากการที่สัตว์เดินบนชั้นตะกอนขณะยังไม่แข็งตัว เมื่อตะกอนบริเวณนั้นแข็งตัวเป็นหิน ก็เก็บร่องรอยเหล่านี้ไว้ได้ เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ หรือรอยเท้าสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งรอยตีนไดโนเสาร์สามารถบอกถึงพฤติกรรมการเคลื่อนที่ สรีระวิทยาของตีน อายุทางธรณีวิทยา และการกระจายทางภูมิศาสตร์

FP_01.jpg

รูปที่ 11.1 การเกิดรอยตีนไดโนเสาร์

ในเมืองไทยมีการค้นพบรอยทางเดินและรอยตีนไดโนเสาร์มากมายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มเดินสองขา เนื่องจากบริเวณที่หากินของไดโนเสาร์เดินสี่ขา พวกกินพืช ไม่ใช่ริมฝั่งแม่น้ำที่มีตะกอนชุ่มชื้น แต่เป็นดงไม้ที่พื้นดินถูกปิดทับด้วยไม้ขนาดเล็ก หรือใบไม้หนาแน่น หมวดหินที่พบรอยตีนไดโนเสาร์ ได้แก่ หมวดหินน้ำพอง  หมวดหินพระวิหารและหมวดหินโคกกรวด

555555.jpg

รูปที่ 11.2 แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ที่ค้นพบในประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี, 2562) 

หินทรายที่พบบริเวณน้ำตกวังเหว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี พบรอยพิมพ์ของรอยตีนขนาดใหญ่หนึ่งรอย และขนาดเล็กหลายรอย อยู่ร่วมกับรอยริ้วคลื่น (ripple marks) จากการศึกษาของนักวิจัยพบว่าเป็นรอยตีนของไดโนเสาร์กินเนื้อพวกเทอร์โรพอด (theropod) และได้ตั้งชื่อรอยตีนนี้ว่า สยามโมโพดัส เขาใหญ่เอนซิส (Siamodus khoayaiensis Lockley, 2006) แต่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นหินทรายของหมวดหินใดเนื่องจากรอยตีนที่พบอยู่บนก้อนหินที่หลุดลงมา แต่คาดว่าเป็นของหมวดหินพระวิหาร

fig11_3.jpg

ภาพที่ 11.3 รอยตีนไดโนเสาร์เขาใหญ่ (กรมทรัพยากรธรณี, 2553)

  • YouTube

เรียบเรียงข้อมูลจาก

  • กรมทรัพยากรธรณี. 2553. ท่องโลกธรณี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ความมหัศจรรย์แห่งมรดกโลก. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 51 หน้า.

  • กรมทรัพยากรธรณี. 2562. คู่มือผู้เล่าเรื่องธรณี แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ภูแฝก; 26 หน้า

  • วราวุธ สุธีธร และคณะ. 2558. การอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในมหายุคมีโซโซอิกของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคการสแกน 3 มิติ

bottom of page