top of page

หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic rock) หมายถึง หินที่เกิดจากเศษหินหรือมีเศษหินเป็นส่วนประกอบ ในธรรมชาติเมื่อหินผุพัง หลุดแตกหรือถล่มจากภูเขา จะมีตะกอนขนาดตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่มาก จำแนกได้ตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเม็ดตะกอน ดังนี้

  • หินก้อนใหญ่ (boulder) เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 256 มิลลิเมตร

  • กรวด (gravel) เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 2.0-256 มิลลิเมตร 

  • ทราย (sand) เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 0.06-2.0 มิลลิเมตร

  • ทรายแป้ง (silt) เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 0.004-0.06 มิลลิเมตร

  • เคลย์ (clay) เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.004 มิลลิเมตร

Figure-F4-Udden-Wentworth-grain-size-cla

ภาพที่ 17.1 การจำแนกตะกอนเนื้อเม็ดตามมาตรของ Udden-Wentworth 

ตะกอนเมื่อถูกพัดพามาโดยธารน้ำ (ลมหรือธารน้ำแข็ง) ตะกอนเหล่านั้นไม่ได้ถูกกรองหรือร่อนมา เมื่อตกจมและทับถมรวมกันอาจมีตะกอนคละกันหลายขนาด การจำแนกหินตะกอนเนื้อเม็ดจึงต้องพิจารณาปริมาณตะกอนที่มีมากที่สุดทั้งนี้ หินทราย (sandstone) ต้องมีปริมาณตะกอนขนาดทรายมากที่สุด หินที่ตะกอนขนาดกรวดมากที่สุดเรียกว่า หินกรวด (conglomerate) หินที่มีปริมาณตะกอน

ขนาดเคลย์มากที่สุดตะกอนขนาดอื่น เรียกว่า หินเคลย์ (claystone)

 

ในกรณีที่มีตะกอนเนื้อละเอียดปริมาณมาก ต้องแยกระหว่างขนาดทรายแป้งกับเคลย์ หากมีปริมาณทรายแป้งมากกว่าจะเรียกว่าหินทรายแป้ง (siltstone) หากมีปริมาณเคลย์มากกว่าเรียกว่า หินเคลย์ (claystone) แต่หากมีปริมาณทรายแป้งและเคลย์เท่าๆ กัน เรียกว่าหินโคลน (mudstone)

95556342_133749051589819_693175364579282

รูปที่ 17.2 แผนภาพการจำแนกหินตะกอนเนื้อเม็ดจากปริมาณที่เป็นส่วนประกอบในหิน

หากมีตะกอนขนาดแตกต่างกัน ให้พิจารณาว่าเป็นหินชนิดใดเป็นหลักก่อน เช่น หากมีกรวดปะปนอยู่ในหินทรายจะเรียกว่า หินทรายปนกรวด (conglomeratic sandstone) หากมีทรายปะปนอยู่กับทรายแป้งเรียกว่า หินทรายแป้งปนทราย (sandy siltstone)

fig17_2.jpg

ภาพที่ 17.3 หินทรายปนกรวดของหมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราช

fig17_3.jpg

ภาพที่ 17.4 หินทรายปนกรวดของหมวดหินโคกกรวด กลุ่มหินโคราช

การจำแนกหินตะกอน

เนื้อเม็ด

bottom of page