top of page

รอยริ้วคลื่น (ripple mark) หมายถึง ริ้วคลื่นที่ปรากฏเป็นรอยบนพื้นทรายหรือโคลน เกิดเนื่องจากการกระทำของคลื่นลมหรือกระแสน้ำ พบได้ทั้งบนบกและที่พื้นท้องน้ำ รอยริ้วคลื่นนี้อาจพบได้ในหินตะกอน เช่น หินทรายและหินโคลน เกิดเนื่องจากริ้วคลื่นได้ถูกตะกอนชนิดอื่นตกจมทับถมปิดไว้ เมื่อตะกอนทั้งหมดแข็งตัวกลายเป็นหิน ริ้วคลื่นก็ยังคงรูปเดิมปรากฏในหินนั้น เมื่อหินปิดทับแตกหลุดออกไปก็จะเห็นรอยริ้วคลื่นนั้นได้ ริ้วคลื่นอาจก่อตัวมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นคลื่นทราย สันทราย เนินทราย และดอนทรายใต้น้ำหรือโขดใต้น้ำเปลี่ยนที่ได้

เนื่องจากรอยริ้วคลื่นเกิดขึ้นพร้อมกับการทับถมของตะกอน และเกิดเฉพาะที่บริเวณผิวหน้าของชั้นตะกอน จึงจัดเป็นโครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure) ของหินตะกอน และใช้เป็นหลักฐานบ่งชี้ด้านบนของชั้นหิน

fig6_1_Dune-lines-copy.jpg
Fig6_02.jpg

ภาพที่ 6.1 รอยริ้วคลื่นที่เกิดจากลมและรอยริ้วคลื่นที่เกิดจากน้ำ

  • YouTube

รอยริ้วแบบสมมาตร (symmetry ripple) เกิดจากการเคลื่อนที่ของน้ำหรือลมแบบไปและกลับ ทำให้เม็ดตะกอนทับถมทั้งสองด้านสมมาตรกัน ส่วนรอยริ้วแบบไม่สมมาตร (asymmetric ripple) หรือรอยริ้วกระแส (current ripple mark) เกิดเมื่อมีทิศทางของกระแสไปในทางเดียว เม็ดตะกอนจะเคลื่อนที่ทางด้านที่มีความลาดชันน้อย (stoss side) จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดของสันจากนั้นเม็ดตะกอนจะกลิ้งตกลงมาทับถมพอกทางด้านที่ชันกว่า (lee side) ด้านชันจึงชี้ไปทางปลายของกระแส

S__925705_edited.jpg

ภาพที่ 6.2 รอยริ้วคลื่นแบบสมมาตรและรอยริ้วคลื่อนแบบไม่สมมาตร

รอยริ้วกระแสที่พบทั่วไปมีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่ รอยริ้วสันตรง (straight crested ripple mark) รอยริ้วรูปตัวเอส (sinuous or undulatory ripple mark) และรอยริ้วรูปลิ้น (linguoid ripple mark) ขึ้นอยู่กับความเร็วและความคงที่ของกระแสน้ำ

4444444444.jpg

ภาพที่ 6.3  ลักษณะของรอยริ้วที่พบในภาคสนาม อาทิ รอยริ้วสันตรง (straight-crested ripples) รอยริ้วรูปตัวเอส (sinuous or undulatory ripples) รอยริ้วรูปลิ้น (linguoid ripples) ทุกลักษณะในภาพแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำและลมจากซ้ายไปขวา

fig6_3.JPG

ภาพที่ 6.4 รอยริ้วสันตรง บนหน้าชั้นหินทรายของหมวดหินเสาขัว กลุ่มหินโคราช

fig6_4.JPG

ภาพที่ 6.4 รอยริ้วรูปลิ้น บนหน้าชั้นหินทรายของหมวดหินเสาขัว กลุ่มหินโคราช

เรียบเรียงจาก

รอยริ้วคลื่น

bottom of page