top of page

หินกรวดมน (conglomerate) เป็นหินตะกอนที่มีขนาดเม็ดตะกอนขนาดใหญ่กว่าทราย คือ เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2 มิลลิเมตร หินกรวดมนมักเกิดร่วมกับหินทรายโดยตะกอนถูกกระแสน้ำที่มีพลังงานสูงพัดพามา เมื่อพลังงานลดลงจนไม่สามารถนำเม็ดกรวดให้เคลื่อนที่ต่อไปได้ กรวดจึงมักตกทับถมบริเวณท้องน้ำในร่องน้ำ สันดอนทรายกลางน้ำ ในขณะที่ตะกอนขนาดเล็กกว่ายังเคลื่อนที่ต่อไป

95479527_133387231626001_142574122027293

ภาพที่ 20.1 บริเวณที่มีการทับถมของกรวดและลักษณะของหินกรวดมนภายใต้กล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์

เม็ดกรวด (เช่นเดียวกับเม็ดทราย) เกิดจากหินที่มีอยู่ก่อนหน้าผุพังและถูกกร่อนทำลาย แล้วถูกธารน้ำพัดพามาตามทางน้ำ โดยเม็ดกรวดจะถูกขัดสีจนกลมมน ความกลมมนจะบ่งชี้ว่าถูกพัดพามาไกล หรืออาจผุกร่อน หรือถูกขัดสีจนกร่อนด้วยเวลาอันยาวนาน หากเม็ดกรวดยังเป็นเหลี่ยมมุมแสดงว่าถูกพัดพามาไม่ไกล หรือถูกขัดสีไม่มาก


เม็ดกรวดอาจเป็นแร่หรือเป็นเศษหินก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของหินที่มีอยู่เดิม แร่ที่ผุเร็วจะผุพังไประหว่างการพัดพา ส่วนแร่ที่คงทนจะผุได้ยากกว่า ทั้งนี้ แร่ควอตซ์ซึ่งมีความคงทนสูง มักเป็นองค์ประกอบหลักของหินทรายที่ผ่านการพัดพามาไกล หรืออาจพบเม็ดกรวดที่เป็นแร่ควอตซ์หลงเหลืออยู่ แม้ว่าต้นกำเนิดจะอยู่ไกลจากบริเวณที่พบก็ตาม นอกจากนี้อาจพบซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่โดนน้ำพัดพามาในร่องน้ำ เมื่อตกจมจะทับถมอยู่กับเม็ดกรวดและกลายเป็นหินกรวดมน

fig20_2.jpg
95611072_133387211626003_233861785310986

ภาพที่ 20.2 หินกรวดมนของกลุ่มหินโคกกรวด มีลักษณะเด่นคือ มีเม็ดกรวดเป็นหินโคลนสีแดง

การเกิดหินกรวดมน

bottom of page